วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์(integriry)

เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร
.....การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้
ระดับความซื่อสัตย์
1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก
. ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิด
. หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
. ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
. ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน
. ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
. ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
. ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด
. รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
. ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
. ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
. ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
. ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
. ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
. ตักเตือนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
. ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
. แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
. ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงาน
. นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใครทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด


...ประโยชน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์...
1. ส่งเสริมให้เกิดความเมตตาธรรม
2. ปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
3. เป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม
4. ส่งเสริมความรักและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
5. เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากความหวาดระแวง
6. เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
7. นำไปสู่ความรักและเคารพในเกียรติของตนเองและบุคคลอื่น
8. เป็นการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือความรู้สึกคนอื่น
9. ช่วยรักษาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือองค์กรอย่างตรงไปตรงมา
10. ช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
11. ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียบและมีวินัยในตนเองและสังคม
12. ช่วยสร้างความจริงใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้


สุภาษิต คำพังเพย เกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์
1. ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน
2. เสียชีพอย่าเสียสัตย์
3. กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา
4. คดในข้องอในกระดูก
5. สิบแปดมงกุฎ
6. ฉ้อราษฎร์บังหลวง
7. ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก
8.หน้าเนื้อใจเสือ
9. ผักชีโรยหน้า
10. ปากว่าตาขยิบ


กิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึก"ความซื่อสัตย์"
.....1. นำเสนอตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเคยชินหรือเกิดความสงสัย และสามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมตรงกันข้ามจะได้รับผลอย่างไร
.....2. ยกย่องสรรเสริญให้เป็นขวัญและกำลังใจกับผู้ประกอบความดี ประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
.....3. แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดีไม่มีอคติเมื่อผู้เรียนประพฤติไม่ถูกต้องเพื่อจะได้ปรับตนใหม่ให้เป็นไปตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
.....4. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง เช่น พูดคุย สัมภาษณ์บุคคลตัวอย่างในท้องถิ่น
.....5. ให้เด็กหรือผู้เรียนเรียนรู้ตามตัวอย่างจากสื่อต่าง ๆ เช่น นิทาน ละคร ภาพยนตร์ สารคดี ชีวิตจริงของบุคคลที่ประพฤติตนอย่างซื่อสัตย์สุจริต แล้ววิเคราะห์และสรุปผลด้วยตนเอง ให้ทำหลายๆ ครั้งอย่างสม่ำเสมอในสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
.....6. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนได้วิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์หรือสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันหลาย ๆ ครั้ง ทั้งการวิเคราะห์เป็นกลุ่มและการวิเคราะห์ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจเชิงเหตุและผลทั้งด้านดีและไม่ดี และทั้งที่หาข้อยุติหรืออาจยังหาข้อยุติไม่ได้
.....7. ให้ได้แสดงเจตนารมณ์เป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมที่จะประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรมจริยธรรม เช่น การมีคติพจน์ประจำใจ การสร้างสัญลักษณ์ของพฤติกรรม ฯลฯ

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี 
เมื่อครั้งเป็นนิสิต ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด หรือวิเคราะห์อะไร เพียงแต่ได้ยินคำเล่าลือว่าเขาเป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้กว้างขวางและลึกซึ่งถี่ถ้วน ในสมัยที่เราเรียนหนังสือกัน ได้มีผู้นำบทกวีของจิตรมาใส่ทำนองร้องกัน ฟังติดหูมาจนถึงทุกวันนี้
                                                     เปิบข้าวทุกคราวคำ                   จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                          เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึ้งก่อเกิดมาเป็นคน
                                                                      ข้าวนี้น่ะมีรส                           ให้ชมชิมทุกชั้นชน
                                          เบื้องหลังสิทุกข์ทน                             และขมขืนจรเขียวคาว
                                                                      จากแรงมาเป็นรวง                   ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                           จากรวงเป็นเม็ดพราว                          ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                                       เหงื่อหยดสักกี่หยาด                ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                            ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                                       น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                    และน้ำแรงอันหลังริน
                                             สายเลือดกูทั้งสิ้น                              ที่สูซดกำซาบฟัน
         ดูจากสรระนามที่ใช้ว่า กูในบทกวีนี้ แสดงว่าผู้ที่พูดคือชาวนา ชวนให้คิด
ว่าเรื่องจริงๆนั้นชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จำ
ลำเลิกกับใครๆ ว่าถ้าไม่มีคนคอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆจะเอาอะไรกิน อย่าว่าแต่การลำเลิกทวงบุญคุณเลย ความช่วยเหลือของคนในสังคมต่อคนกลุ่มนี้ในด้านของปัจจัยการผลิต การพยุงหรือประกันราคา และการรักษาความยุติธรรมทั้งปวงก็ยังแทบเป็นไปไม่ได้ ทำให้ในหลายๆด้าน ประเทศที่มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือ ภาคบริการ ซึ่งทำให้ตนมีรายได้สูงกว่า หรือได้เงินเร็วกว่า แน่นอนกว่า มีสวัสดิการดีกว่าและไม่ต้องสี่ยงมากต่อการเป็นชาวนา บางคนที่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรมก็นิยมเปลี่ยนพืชที่ปลูกจากธัญพืชซึ่งมักจะได้ราคาต่ำซึ่งรัฐบาลก็มีความจำเป็นต้องควบคุมราคาเป็นพืชเศรษฐกิจประเภทอื่นที่มาราคาสูงกว่า แต่ก็ยังมีชาวนาอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีทางขยับขยายตัวให้อยู่ในสถานะที่ดีขึ้นได้อาจแย่ลงด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกากับใครถึงจะมีคนแบบจิตรที่พยายามใช้จินตนาการสะท้อนความในใจออกมาสะกิดใจคนอื่นบ้าง แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไป          หลายปีมาแล้วข้าพเจ้าอ่านพบบทกวีจีนบทหนึ่ง ผู้แต่งชื่อ หลี่เชิน ชาวเมืองอู่ซี่
มีชีวิตอยู่ในระหว่างปีค.ศ.๗๗๒ ถึง ๘๔๖ สมัยราชวงศ์ถัง ท่านหลี่เชินได้บรรยายความในใจไว้เป็นบทกวีภาษาจีน ข้าพเจ้าพยายามแปลด้วยภาษาที่ขรุขระไม่เป็นวรรณศิลป์เหมือนของจิตร ภูมิศักดิ์
                                                                             หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง
                                                                              จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
                                                                              รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
                                                                              แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
                                                                              ตอนอาทิตย์เที่ยงวันชาวนายังพรวนดิน
                                                                              เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
                                                                               ใครจะรู้ว่าในจานใบนั้น
                                                                               ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส
         กวีผู้นี้รับราชการมีตำแน่งเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในชนบท ฉะนั้นเป็นไปได้ที่เขาจะเห็นความเป็นอยู่ของ ราษฎรชาวไร่ชาวนาในยุคนั้น และเกิดความสะเทือนใจจึงได้บรรยายความรู้สึกออกเป็นบทกวีที่เขาให้ชื่อว่า ประเพณีดั้งเดิมบทกวีของ หลี่เชิน เรียบๆ ง่าย ๆ แต่ก็แสดงความขัดแย้งชัดเจน แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์แต่ผลผลิตก็ไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควร
          เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพให้เห็นเหมือนจิตรกร วาดภาพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเหมือนชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านได้ฟังด้วยตนเอง
เวลานี้สภาพบ้านเมืองก็เปลี่ยนไป ตั้งแต่สมัยหลี่เชินเมื่อพันปีกว่า สมัยจิตร ภูมิศักดิ์เมื่อสมัย ๓๐ ปีที่แล้ว สมัยที่ข้าพเจ้าได้เห็นเองก็ไม่มีอะไรแต่งตากกันนัก ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็ยังเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ข้อคิดที่ได้รับ

             .ไม่ว่ายุคใดสมัยใดชาวนาในประเทศใด ๆในโลกนี้ ก็ยังมีความทุกข์ เพียงเพื่อชีวิตของคนทั้งโลกได้สืบทอดเผ่าพันธุ์  เราจึงควรสำนึกในคุณค่านี้      
             ๒.แม้ผลผลิตของพืชพันธ์ธัญญาหารจะดีแค่ไหน  แต่ชาวนาไทยก็ยังไม่ได้รับผลประโยชน์ได้ดีเท่าที่ควร
             ๓.ถึงจะเหนื่อยเมื่อยล้าเพื่อผลิตอาหารให้คนทั้งโลกได้มีกินอย่างสมบูรณ์แต่ชาวนาก็ไม่มีโอกาสที่จะมาลำเลิกบุญคุณ
             ๔.ทุกชีวิตทุกอาชีพเจริญมีหน้ามีตาแต่ชีวิตชาวนากำลังจะตาย
        ๕.เมล็ดพันธุ์ข้าวหนึ่งเมล็ดคือต้นข้าวหนึ่งต้นที่ผลิดอกออกผลผลิตเป็นเมล็ดข้าวเป็นร้อยเป็นพันเมล็ดที่เกิดจากหยาดเหงื่อของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
             ๖.หากมัวแต่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม อีกไม่นานภาคเกษตรกรรมก็จะตกต่ำและปัญหาก็จะตามมา
ประวัติผู้แต่ง
              สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ เช่น ด้านดนตรีไทย ทรงพระปรีชาสามารถในการขับร้องเพลงและทรงบรรเลงดนตรีไทยได้หลายประเภท ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์ที่รู้จักกันแพร่พลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร ผีเสื้อแก้วจอมแก่น แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น ทั้งนี้ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะทรงใช้พระนามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
              นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการโดยมุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดารและพัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลอย่างสมบูรณ์